top of page
รับจดแจ้ง อย. และขอใบรับรองจาก อย.
บริการขนส่งสินค้าส่งตรงถึงลูกค้า

ว่าด้วยเรื่องน้ำอบ และน้ำปรุง (PART I)


น้ำอบ

(THAI COLOGNE)


โรงงานผลิตน้ำอบไทย

เมื่อพูดถึงเครื่องหอมไทยสมัยโบราณ เชื่อว่าหลายท่านจะต้องคิดถึง น้ำอบ และน้ำปรุง แต่จะมีซักกี่คนที่จะรู้ว่าน้ำอบและน้ำปรุงนั้นแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นในครั้งนี้ทางทีมงานจะบอกเล่าเรื่องราวของเครื่องหอมไทยทั้งสองชนิด ตลอดจนกระบวนการวิธีทำที่ผู้อ่านสามารถนำไปทำตามเองได้ไม่ยาก


น้ำอบ หรือที่ชาวต่างชาติรู้จักในชื่อ "ไทยโคโลญจน์ (Thai Cologne)" ถือเป็นเครื่องหอมไหยที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต และประเพณีของไทย นิยมใช้กันมากในช่วงประเพณีสงกรานค์ มีกลิ่นหอมเบาบาง ไม่ติดทนทานนานนัก ใช้สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และใช้ชโลมหลังอาบน้ำเพื่อดับร้อน เราสามารถสังเกตุน้ำอบแยกออกจากน้ำปรุงได้ง่ายตรงที่มีแป้งเป็นส่วนผสม


ขั้นตอนในการทำน้ำอบนั้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอน และใช้เวลาอย่างน้อย 4 วันในการเตรียมคือ ชง ร่ำ อบ และปรุง โดยรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนมีดังนี้


  1. การชงน้ำอบ: เป็นขั้นตอนแรกของการเตรียมน้ำอบไทยโดยแต่เดิมนิยมใช้น้ำฝน แต่ในปัจจุบันใช้น้ำดื่มแทน โดยใช้น้ำประมาณ 2 ลิตร ต้มจนเดือด จากนั้นใส่ชะลูด และแก่นจันทร์เทศ อย่างละ 1 หยิบมือ รอจนน้ำเดือนอีกครั้งหนึ่งค่อยใส่ใบเตยหอมลงไปประมาณ 5-7 ใบ ทำการปิดฝาหม้อ และปิดไฟทันที จะได้น้ำสีอมเหลืองอ่อนๆ รอให้น้ำเย็นลง ค่อยกรองใส่โถ แล้วนำดอกไม้มาลอยอย่างน้อย 1 คืน แล้วช้อนออกในตอนเช้า โดยดอกไม้สดที่นิยมนำมาลอยได้แก่ ดอกมะลิ ดอกจำปี-จำปา ดอกกุหลาบมอญ ดอกกระดังงา และดอกพิกุล

  2. การอบร่ำกำยาน: ก่อนจะนำกำยานมาร่ำในน้ำนั้น จะต้องทำการปรุงกำยานเสียก่อนโดยการนำ จันทร์เทศ กำยาน พิมเสน ผิวมะกรูด และน้ำตาลทราย อย่างละเท่าๆ กันมาผสมกัน เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการปรุงกำยาน หลังจากนั้นนำตะคันหรือถ้วยดินเผาไปเผาไฟให้ร้อน สังเกตุจากตะคันหรือถ้วยดินเผาจะมีสีซีดลง วางทวนหรือแท่นดินเผาเคลือบที่จะใช้เป็นฐานสำหรับรองรับถ้วยกำยานใส่โถอบ แล้วค่อยนำตะคันออกจากไฟนำไปวางบนทวนที่ใส่ไว้ในโถอบ จากนั้นตักกำยานที่ปรุงไว้เรียบร้อยแล้วใส่ลงไปในตะคันทีละ 1 ช้อนชา จะเกิดควันหอมให้ปิดฝาโถให้สนิททิ้วไว้ประมาณ 15-30 นาที ทำทั้งหมดอย่างน้อย 3 ครั้ง แต่โบราณนิยม 11 ครั้งหรือจำนวนเลขคี่คือ 3 5 7 และ 9 ครั้ง โดยแต่ละครั้งให้นำตะคันไปเผาไฟให้ร้อนก่อนทุกครั้ง

  3. การอบควันเทียน: จะใช้ตะคันหรือชุดแท่นดินเผาชิ้นเดิม จุดเทียนอบแล้วดับเทียนตั้งทิ้งไว้ที่แท่น ปิดฝาทิ้งไว้อย่างน้อย 1 คืน โดยทั่วไปนิยมอบซ้ำแบบนี้จนครบ 7 วัน

  4. การปรุงน้ำอบ: ก่อนจะปรุงน้ำอบได้นั้นจะต้องดำเนินการปรุงแป้งเสียก่อนโดยเริ่มจากการสะตุชะมดเช็ด โดยการนำชะมดเช็ดใส่ในใบเนียม ใบพลู หรือใบเตย แล้วลนกับไฟเทียนอบจนเป็นน้ำมัน ค่อยนำมาผสมกับแป้งหินบดละเอียดจำนวน 3 ถ้วยตวง เมื่อผสมเข้ากันดีแล้วค่อยๆ ผสมเครื่องหอมอื่นๆ ตามลำดับดังนี้ กำยานบดละเอียด ผิวมะกรูดแห้งบดละเอียด พิมเสนบดละเอียด ใบเตยแห้งบดละเอียด น้ำตาลอ้อยบดละเอียด เปลือกชะลูดบดละเอียด และดอกไม้แห้งบดละเอียดต่างๆ เช่น ดอกมะลิแห้งบดละเอียด ดอกจำปาแห้งบดละเอียด ดอกกุหลาบมอญแห้งบดละเอียด ดอกชมนาดแห้งบดละเอียด ดอกกระดังงาแห้งบดละเอียด ดอกพิกุลแห้งบดละเอียด อย่างละ 1 ช้อนชา ทั้งนี้อาจผสมน้ำมันหอมเพิ่มเช่น น้ำมันจันทร์ หรือน้ำมันหอมจากดอกไม้ชนิดต่างๆ ก็ได้

จากข้อมูลข้างต้นที่ทางทีมงานได้บอกเล่าวิธีการเตรียมน้ำอบมานั้น จะเห็นว่าน้ำอบเป็นเครื่องหอม และเครื่องประทินผิวของไทยที่นอกจากจะมีกระบวนการทำอันเป็นเอกลักษณ์ และสะท้อนถึงภูมิปัญญาของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ส่วนประกอบของน้ำอบไทยนั้นยังมีแต่สารจากธรรมชาติ ปราศจากแอลกอฮอล์ สำหรับในส่วนความคิดเห็นของทีมงานวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของบริษัท ดิอาร์ทติสแลบบอราทอรี่ จำกัดนั้น ทางทีมงานเล็งเห็นว่าภูมิปัญญาแบบไทยเช่นน้ำอบ สามารถนำมาต่อยอด หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบรนด์ และมีมูลค่าสูง โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มของผลิตภัณฑ์สปา (THAI SPA PRODUCTS) ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติ ดังนั้นหากผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของสปา ไม่ว่าจะเป็น น้ำอบ (Eau De Cologne) น้ำปรุง (Perfume) เทียนหอม (Aroma Candle) บอดี้สคลับ (Body Scrub) สบู่ (Soap) ครีมทามือ (Hand cream) ตลอดจนผลิตภัณฑ์อื่นๆ





สามารถติดต่อฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือฝ่ายขาย เพื่อขอทดลองผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง ตลอดจนปรึกษาคอนเซ็ปท์เพื่อร่วมในการพัฒนาสินค้าได้ที่ TEL: 02-0462506 หรือผ่านช่องทาง line ตาม QR Code ด้านล่าง







Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page